ฮักนะ มหาสารคาม
ฮักนะ มหาสารคาม
เมืองมหาสารคามถือว่าเป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญและยาวนานมานับพันปี เพราะได้พบหลักฐานทางโบราณคดีที่ได้รับอิทธิพลทางพุทธศาสนาตั้งแต่สมัยคุปตะตอนปลายและปัลลวะของอินเดียผ่านเมืองพุกามมาในรูปแบบของศิลปะสมัยทวารวดี โดยบริเวณ(โคกพระ)เมือง
กันทรวิชัย พบหลักฐานเช่น พระพุทธมิ่งเมือง พระพุทธรูปยืนมงคล และกรุพระพิมพ์ดินเผา ส่วนบริเวณอำเภอนาดูนเมืองนครจำปาศรี พบทั้งกรุพระพิมพ์ดินเผาและพระบรมสารีริกธาตุ นอกจาก
นี้แล้วยังได้รับอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ผ่านทางชนชาติขอม ในรูปแบบสมัยลพบุรี เช่น กู่สันตรัตน์ กู่บ้านเขวา กู่บ้านแดง และกู่อื่น ๆ รวมไปจนถึงเทวรูปและเครื่องปั้นดินเผาของขอมอยู่ตามผิวดินทั่ว ๆ
ไปในจังหวัดมหาสารคามมหาสารคามตั้งอยู่ตอนกลางของภาคอีสาน มีชนหลายเผ่า เช่น ชาวไทยพื้นเมืองพูดภาษาอีสาน ชาวไทยญ้อและชาวผู้ไท ประชาชนส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา ปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี “ฮีตสิบสอง”
ประกอบอาชีพด้านกสิกรรมเป็นส่วนใหญ่ ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายมีการไปมาหาสู่กัน ช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยกันตามแบบของคนอีสานทั่วไป
เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2408 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ยก “บ้านลาดกุดยางใหญ่” ขึ้นเป็น เมือง
มหาสารคาม โดยแยกพื้นที่และพลเมืองราวสองพันคนมาจากเมืองร้อยเอ็ด และให้ท้าวมหาชัย (ท้าวกวด ภวภูตานนท์ ต้นตระกูล ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม) เป็นพระเจริญราชเดช เจ้าเมือง มีท้าวบัวทองเป็นผู้ช่วยขึ้นกับเมืองร้อยเอ็ด
ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้แยกเมืองมหาสารคามขึ้นตรงกับกรุงเทพมหานคร เมื่อ พ.ศ. 2412 และร้อยเอ็ดได้แบ่งพลเมืองให้อีกราวเจ็ดพันคน พลเมืองเดิมอพยพมาจากเมืองจำปาศักดิ์ ท้าว
มหาชัยและท้าวบัวทองนั้นเป็นหลานโดยตรงของพระยาขัติยวงศา (สีลัง) เจ้าเมืองคนที่ 2 ของเมืองร้อยเอ็ด เดิมกองบัญชาการของเมืองมหาสารคามตั้งอยู่ที่เนินสูงแห่งหนึ่งใกล้กุดนางใย ได้สร้างศาลเจ้าพ่อหลักเมืองและศาลมเหศักดิ์ขึ้นเป็นที่สักการะของชาวเมือง
เมืองมหาสารคามได้สร้างวัดดอนเมือง ซึ่งภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น วัดข้าวฮ้าว (วัดธัญญาวาส) และได้ย้ายกองบัญชาการไปอยู่ริมหนองกระทุ่มด้านเหนือของวัดโพธิ์ศรีปัจจุบัน ในปี พ.ศ.
2456 หม่อมเจ้านพมาศ นวรัตน์ เป็นปลัดมณฑลประจำจังหวัด โดยความเห็นชอบของพระมหาอำมาตยาธิบดี (เส็ง วิริยะศิริ) ได้ย้ายศาลากลางไปอยู่ที่ตั้งศาลากลางหลังเดิม (ที่ว่าการอำเภอ
เมืองมหาสารคามปัจจุบัน) และในปี พ.ศ. 2542 ได้ย้ายศาลากลางไปอยู่ ณ ที่ตั้งปัจจุบัน มีผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าเมือง หรือผู้ว่าราชการจังหวัด รวม 46 คน
พระบรมพระธาตุนาดูนพระธาตุนาดูน
ตั้งอยู่ที่ บ้านนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม นับเป็นสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาคู่บ้านคู่เมืองของ ชาวมหาสารคาม เป็นปูชนียสถานที่สร้างขึ้นเพื่อสิริมงคลแก่ภูมิภาค พื้นที่โดย
รอบได้ถูกพัฒนาเพื่อเป็นศูนย์กลางส่งเสริมกิจการ พระพุทธศาสนาและศิลปวัฒนธรรม ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงเรียกขานว่าเป็น “พุทธมณฑลอีสาน” รอบองค์พระธาตุมีบริเวณ กว้าง
ขวาง จัดแต่งเป็นสวนรุกขชาติ ปลูกต้นไม้ในพุทธประวัติ พระธาตุนาดูน เป็นเขตที่มีการขุดพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองในอดีต เพราะบริเวณนี้ได้
เคยเป็นที่ตั้งของนครจำปาศรีมาก่อน โบราณวัตถุต่างๆที่ค้นพบ ได้นำไปแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดขอนแก่น
และที่สำคัญยิ่งก็คือการขุดพบสถูป บรรจุพระบรมสารีริกธาตุบรรจุ ในตลับทองคำ เงิน และสำริด ซึ่งสันนิษฐานว่ามีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 13-15 สมัยทวาราวดี
ชั้นที่ 1 คือ ส่วนฐานที่เป็นองค์พระธาตุมีลักษณะกลม มีพื้นทางเดินโดยรอบ และมีซุ้มประตูลายปูนปั้น 4 ประตูประจำทิศ ผนังประดับ ด้วยกระเบื้องด่านเกวียนศิลปะของ ภาคอีสาน พื้นปูด้วยกระเบื้องเซรามิก 6 เหลี่ยม ผนังทั่วไปทำด้วยหินล้าง
ชั้นที่ 2 สูงจากชั้นที่หนึ่ง 5 เมตร มีเจดีย์องค์เล็กประจำทิศเหนือทั้ง 4 และพระพุทธรูปประจำซุ้ม 4 องค์ ผนังประกอบด้วยปูนปั้นเป็น รูปเสามีบัวเหนือเสา พื้นปูด้วยกระเบื้องเซรามิก 6 เหลี่ยม ผนังทั่วไปทำด้วยหินล้างและประดับกระเบื้องด่านเกวียน
ชั้นที่ 3 สูงจากชั้นที่สอง 4.80 เมตร มีเจดีย์องค์เล็กประจำทิศเฉียง 4 องค์ เช่นเดียวกับชั้นที่ 2 พื้นปูด้วยกระเบื้อง เซรามิก 6 เหลี่ยม
ชั้นที่ 4 สูงจากชั้นที่สาม 1.60 เมตร ประกอบด้วยฐาน 8 เหลี่ยม เป็นชั้นเริ่มต้นของ ตัวองค์พระธาตุ โครงสร้างประกอบ
ชั้นที่ 5 สูงจากชั้นที่สาม 1 เมตร ประกอบด้วยฐานบัวกลม ชั้นที่ 5 ถึงชั้นที่ 10มีความสูง 11 เมตรเป็นตัวองค์ระฆังของพระธาตุ โดยเฉพาะชั้นที่ 8 จะเป็นชั้นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
ชั้นที่ 10 มีลักษณะองค์ระฆัง เป็นชั้นบัลลังก์
ชั้นที่ 11 ถึงชั้นที่ 14 มีความสูง 4.60 เมตร เป็นชั้นบัลลังก์ประกอบด้วยลักษณะทรงกลมมีลายปูนปั้นเป็นกลีบบัว
ชั้นที่14 ถึงชั้นที่ 16 มีความสูง 6.80 เมตร เป็นชั้นปล้องไฉน มีทั้งหมด 6 ปล้อง ในส่วนชั้นที่ 16 ถึงยอดคือปลียอด มีชั้นปลี ชั้นลูกแก้ว และชั้นฉัตรยอด ส่วนฉัตรยอดบุด้วยโมเสกแก้วสีทอง
ทุกปีจะมีการจัดงานนมัสการพระธาตุนาดูน ในช่วงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 หรือวันมาฆบูชาภายในงานจัดให้มีกิจกรรมเวียนเทียน รอบองค์พระบรมธาตุ การบวงสรวงองค์พระบรมธาตุ การปฏิบัติ
ธรรมวิปัสสนาการทำบุญตักบาตร สวดมนต์ฟังธรรม ขบวนแห่ ประเพณี 12 เดือน การแสดงแสง สี เสียง ประวัติความเป็นมานครจำปาศรีและการแสดงมหรสพสมโภชตลอดงาน เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 06.00 – 18.00 น.
จากตัวเมืองมหาสารคาม โดยใช้เส้นทางหมายเลข 2040 ผ่านอำเภอแกดำ อำเภอวาปีปทุม แล้วเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2045 ถึงอำเภอนาดูน ทางลาดยางตลอด ห่างจากตัวเมืองประมาณ 65 กิโลเมตร